วPA — PA ย่อมาจาก Performance Agreement แปลตรงตัวได้ว่า ข้อตกลงด้านประสิทธิภาพ
ดังนั้น วPA จึงหมายถึง การประเมินผลการปฏิบัติงาน นั่นเอง โดยเป็นระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานรูปแบบใหม่ที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาเกี่ยวกับเงินเดือนและการขอวิทยฐานะ ทั้งการขอเลื่อนวิทยฐานะ การขอเลื่อนขั้นเงินเดือน และการคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)
จุดเด่นของ วPA
การประเมินด้วยรูปแบบ วPA จะช่วยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของข้าราชการครูในหลากหลายมิติมากขึ้น และมีความเป็นวิชาการมากขึ้น ทั้งศักยภาพด้านภาระงานที่ได้ปฏิบัติ จุดเด่นและจุดด้อยในการรับผิดชอบงานต่าง ๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งข้อมูลที่ได้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตัวเองของข้าราชการครูแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนสถานศึกษาให้มีคุณภาพอีกด้วย
ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติงาน (วPA) จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญของสถานศึกษาที่ช่วยกระตุ้นการทำงานและปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาให้ก้าวหน้ามากขึ้น และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี
วPA มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง
- ชั่วโมงการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
- คุณภาพการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยประเด็นท้าทายที่กำหนดในระดับการปฏิบัติที่คาดหวังแบ่งได้ตามระดับวิทยฐานะ ดังนี้
- กรณีที่ยังไม่มีวิทยฐานะ
- ครูผู้ช่วย ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ปฏิบัติและเรียนรู้ (Execute & Learn) สามารถปฏิบัติงานและเรียนรู้จากการปฏิบัติได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง
- ครู ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ปรับประยุกต์ (Apply & Adapt) สามารถปรับประยุกต์การจัดการเรียนรู้และปฏิบัติงาน จนปรากฏผลลัพธ์กับผู้เรียนได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง
- กรณีที่มีวิทยฐานะ
- ครูชำนาญการ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ แก้ไขปัญหา (Solve the Problem) สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
- ครูชำนาญการพิเศษ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ริเริ่ม พัฒนา (Originate & Improve) สามารถริเริ่มพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
- ครูเชี่ยวชาญ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ คิดค้น ปรับเปลี่ยน (Invent & Transform) สามารถคิดค้น พัฒนานวัตกรรมและปรับเปลี่ยน ให้คุณภาพ การเรียนรู้สูงขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดี และให้คำปรึกษาผู้อื่น
- ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ สร้างการเปลี่ยนแปลง (Create & Impact) สามารถคิดค้น พัฒนา นวัตกรรม เผยแพร่ และขยายผล จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำปรึกษาผู้อื่น และเป็นผู้นำ
TRENDING
Stative Verb คือ? กริยาที่ไม่แสดงออก
10 hours ago
วPA คือ? การประเมิน พิจารณาเงินเดือนและขอวิทยฐานะรูปแบบใหม่
4 hours ago
Future Perfect Continuous คือ? หลักการใช้
1 day ago
ใบงานวิทยาศาสตร์ ประถม-มัธยม โหลดฟรี
2 days ago
Future Perfect Tense คือ? หลักการใช้ ตัวอย่าง
2 days ago
Next
Prev
English
Past Perfect Continuous คือ? สรุปวิธีใช้ โครงสร้าง ตัวอย่างประโยค
Definition
Generation และการแบ่งช่วงอายุ
วิธีการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ (สำหรับตำแหน่งครูขึ้นไป)
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ข้าราชการครูในสังกัด สพฐ. จะต้องยื่นข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งผู้อำนวยการจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสำหรับประเมิน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการในการประเมิน
- กรรมการจำนวน 2 คน โดยอาจแต่งตั้งศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า คศ.3 อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ ครูจากโรงเรียนอื่นที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเหมาะสมก็ได้
ซึ่งการพิจารณานั้น จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยจะพิจารณาจาก แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน บันทึกวิดีโอการสอน และ บันทึกวิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอน โดยส่งเป็น บันทึกดิจิทัล ภาพถ่าย หรือ เอกสาร
เกณฑ์การประเมิน
สำหรับเกณฑ์การตัดสินทั้ง 2 ด้าน
- ครูชำนาญการ (คศ. 2) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ในแต่ละด้าน
- ครูชำนาญการพิเศษ (คศ. 3) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70 ในแต่ละด้าน
- ครูเชี่ยวชาญ (คศ. 4) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 ในแต่ละด้าน
- ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (คศ. 5) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 ในแต่ละด้าน
การดำเนินการ
สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ สามารถยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปีการศึกษา โดยแบ่งเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ซึ่งมีผู้อำนวยการเป็นผู้ดูแลพร้อมหลักฐาน คือ
- ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน แล้วแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF
- แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์
- บันทึกวิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
- บันทึกวิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้
อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นข้าราชการครูทุกท่าน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เอกสารคู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งน่าจะช่วยให้ข้าราชการครูมีความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง
[wpdm_package id=’2898′][wpdm_package id=’2907′][wpdm_package id=’2909′][wpdm_package id=’2911′][wpdm_package id=’2913′][wpdm_package id=’2915′][wpdm_package id=’2905′]
รูปภาพโดย: เอกชัย เชียงคำ