คงคล้าย ๆ กับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่หลายอย่าง ทฤษฎีการวางเงื่อนไข การทดลองของ Pavlov (หรือที่เรียกว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก) ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดย Ivan Petrovich Pavlov (1849–1936) ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นเพียงนักสรีรวิทยา ไม่ใช่นักจิตวิทยาผู้โด่งดังอย่างที่เรารู้จัก
Ivan Petrovich Pavlov (1849–1936)
นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย
การค้นพบ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิค
ในช่วงทศวรรษที่ 1890 Ivan Pavlov นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียกำลังค้นคว้าเรื่อง การน้ำลายไหลของสุนัขที่ตอบสนองต่อการให้อาหาร โดยเขาสอดหลอดทดลองขนาดเล็กเข้าไปในแก้มของสุนัขแต่ละตัวเพื่อตรวจน้ำลายของสุนัข เมื่อได้รับอาหาร (ด้วยผงที่ทำจากเนื้อสัตว์) เดิมที Pavlov ทำนายว่าสุนัขจะหลั่งน้ำลายเพื่อตอบสนองต่ออาหารที่วางอยู่ข้างหน้า แต่เขาสังเกตเห็นว่าสุนัขของเขาจะเริ่มน้ำลายไหลเมื่อใดก็ตามที่ได้ยินเสียงฝีเท้าของผู้ช่วยของเขาที่นำอาหารมาให้พวกมัน
เมื่อพาฟลอฟค้นพบว่าวัตถุหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สุนัขเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงกับอาหาร (เช่น ผู้ช่วยในห้องแล็บ) จะกระตุ้นการตอบสนองแบบเดียวกัน เขาตระหนักว่าเขาได้ค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ดังนั้นเขาจึงอุทิศเวลาที่เหลือในอาชีพการงานของเขาเพื่อศึกษาการเรียนรู้ประเภทนี้ และกลายมาเป็นนักจิตวิทยาในที่สุด
รายละเอียดของ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิค
Pavlov (1902) เริ่มต้นจากแนวคิดที่ว่า มีบางสิ่งที่สุนัขไม่จำเป็นต้องฝึกเลย ตัวอย่างเช่น สุนัขไม่ต้องฝึกให้มีน้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหาร ปฏิกริยานี้เป็น ‘สัญชาตญาณ’ ในสุนัข ซึ่งในแง่ของ พฤติกรรมนิยม อาหารเป็นสิ่งกระตุ้นที่ไม่มีเงื่อนไข และน้ำลายเป็นการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (กล่าวคือ การเชื่อมต่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการการเรียนรู้)
ในการทดลองของเขา Pavlov ใช้กระดิ่ง (Metronome) เป็นตัวกระตุ้นที่เป็นกลาง เพราะกระดิ่งไม่ได้กระตุ้นการตอบสนองจากสุนัข หรือทำให้สุนัขน้ำลายไหล
ต่อมา Pavlov ได้เริ่มขั้นตอนการวางเงื่อนไข โดยเริ่มสั่นกระดิ่งก่อนที่เขาจะให้อาหารแก่สุนัข หลังจากทำซ้ำแบบนี้อยู่หลายครั้ง ทีนี้เขาก็ลองสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้อาหาร อย่างที่น่าจะเดาได้ ตอนนี้เสียงของกระดิ่งก็ทำให้สุนัขน้ำลายไหลแล้วนั่นเอง
ดังนั้น สุนัขจึงได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างกระดิ่งกับอาหาร และได้เรียนรู้พฤติกรรมใหม่ เนื่องจากการตอบสนองนี้สร้างการเรียนรู้ (หรือแบบมีเงื่อนไข) จึงเรียกว่าการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข (และเรียกอีกอย่างว่าการตอบสนองของ Pavlov) สิ่งเร้าที่เป็นกลาง ไม่สร้างการกระตุ้นใดๆ ได้กลายเป็นสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข
Pavlov พบว่าสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ จะต้องใช้สิ่งเร้าทั้งสองอย่างใกล้ชิดในเวลาใกล้เคียงกัน หรือแทบจะทันที (เช่น กระดิ่ง) เขาเรียกสิ่งนี้ว่ากฎแห่งความต่อเนื่องชั่วขณะ หากเวลาระหว่างสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (กระดิ่ง) กับสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (อาหาร) มีช่วงเวลาห่างกันเกินไป การเรียนรู้ก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน
Pavlov และการศึกษาเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของเขา ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างในช่วงปี 1890-1930 ซึ่งการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก คำว่า “คลาสสิก (Classic)” ก็มาจากการที่การทดลองนี้เป็นการศึกษากฎพื้นฐานของการเรียนรู้ และยังเป็นการค้นพบการวางเงื่อนไขอย่างเป็นทางการครั้งแรก
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้ แบบวางเงื่อนไข
สรุป การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (ภายหลังถูกพัฒนาต่อโดย Watson, 1913) เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้ทำให้เกิดการตอบสนองเฉพาะตัว (เช่น น้ำลายไหล) กับสิ่งเร้าใหม่ (แบบมีเงื่อนไข) เพื่อให้สิ่งเร้าใหม่ทำให้เกิดการตอบสนองแบบเดียวกัน
Pavlov พัฒนาคำศัพท์ทางเทคนิคใหม่ๆ ขึ้นมามากมายในขณะนั้น เพื่ออธิบายกระบวนการนี้ ได้แก่ สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus: UCS) เป็นวัตถุหรือเหตุการณ์ที่สร้างการตอบสนองแบบสะท้อนกลับ / ตามธรรมชาติ ซึ่งการตอบสนองต่อสิ่งนี้เรียกว่าการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response: UCR) สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus: NS) เป็นสิ่งเร้าใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
เมื่อสิ่งเร้าที่เป็นกลางเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข ก็จะกลายเป็นสิ่งเร้าแบบมีเงื่อนไข (Conditioned Stimulus: CS) การตอบสนองแบบมีเงื่อนไข (Conditioned Response: CR) คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบมีเงื่อนไข