ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ Watson และ Rayner ถูกพัฒนาต่อยอดจาก ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov ด้วยความสงสัยที่ว่าการวางเงื่อนไขดังกล่าว สามารถนำมาใช้กับมนุษย์ได้หรือไม่ แม้จะขัดกับหลักจริยธรรมอยู่บ้างก็ตาม ซึ่งการทดลองในครั้งนี้ใช้หนูขาว แท่งเหล็กที่ทำให้เกิดเสียงดัง และทารกน้อยวัย 9 เดือน ชื่อว่า อัลเบิร์ต (Little Albert) ในการทดลอง โดยใช้ปัจจัยความกลัวที่ีมีต่อหนูสีขาว เป็นตัววัดพฤติกรรมการตอบสนอง
John Broadus Watson (ค.ศ.1878–1958) – นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ADVERTISEMENT
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ Watson
ในช่วงเริ่มต้นของการศึกษาในครั้งนี้ วัตสันและเรย์เนอร์ ได้ขออนุญาตทำการทดลองกับเด็กชายวัย 9 เดือนชื่อ “อัลเบิร์ต (Littile Albert)” ซึ่งเป็นเด็กที่ไม่ได้กลัวอะไรเป็นพิเศษ กลัวแต่เสียงดังเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตจากคุณแม่ของอัลเบิร์ต นักวิจัยทั้ง 2 จึงตัดสินใจทดสอบกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกในมนุษย์ โดยกระตุ้นให้เด็กเกิดความหวาดกลัว
อัลเบิร์ต ทารกวัย 9 เดือนที่ได้รับการทดสอบปฏิกิริยาของเขาต่อสิ่งเร้าที่เป็นกลางต่างๆ เขาได้เห็นหนูสีขาว กระต่าย ลิง และหน้ากากต่างๆ อัลเบิร์ตถูกระบุว่า “ทั้งนิ่งเฉยและไม่รู้สึกใดๆ” ต่อสิ่งเร้าเหล่านี้เลย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้เขาตกใจและทำให้เขากลัวก็คือ เสียงที่ดังอย่างกะทันหัน จากการตีแท่งเหล็กด้วยค้อนที่แขวนอยู่เหนือศีรษะของเขา และทำให้ อัลเบิร์ต ร้องไห้และน้ำตาไหล
เมื่ออายุได้ 11 เดือน อัลเบิร์ต ก็ได้เข้ารับการทดลองอีกครั้ง โดยคราวนี้เขาได้เห็นหนูสีขาวเหมือนเดิม และไม่กี่วินาทีต่อมา ก็มีเสียงดังที่เกิดจากค้อนกระแทกเข้ากับแท่งเหล็ก อย่างที่คาดกัน อัลเบิร์ตก็ร้องไห้ออกมา การทดลองนี้ถูกทำซ้ำอยู่ 7 ครั้ง ในช่วงเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์
ถึงตอนนี้ เด็กน้อยอัลเบิร์ต แค่เห็นหนู เขาก็แสดงอาการหวาดกลัวออกมาทันที เขาจะร้องไห้ ไม่ว่าจะมีเสียงค้อนตีแท่งเหล็กหรือไม่ก็ตาม และเขาจะพยายามคลานหนีออกไป
ความกลัวนี้จะเริ่มจางหายเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกนี้จะยังสามารถยืดเวลาออกไปได้ ด้วยการทำซ้ำขั้นตอนเดิม 2-3 ครั้ง
5 วันต่อมา วัตสันและเรย์เนอร์พบว่าอัลเบิร์ตมีอาการกลัววัตถุที่มีลักษณะร่วมบางอย่างคล้ายกับหนู ไม่ว่าจะเป็นสุนัขในบ้าน เสื้อคลุมขนสัตว์ สำลี และหน้ากากซานต้า กระบวนการนี้เรียกว่า ลักษณะทั่วไป (Generalization)
การทดลองในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก สามารถใช้เพื่อสร้างความหวาดกลัวได้ (Phobia) เดิมทีทารกที่ไม่เคยมีความกลัวมาก่อน ถูกวางเงื่อนไขจนทำให้กลัวหนู
ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากการวางเงื่อนไข ความกลัวที่มีต่อหนูของอัลเบิร์ตก็ลดลงไปมาก ปฏิกริยาการตอบสนองที่หายไปนี้เรียกว่า การสูญพันธุ์ (Extinction) คือจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ นั่นเอง
แต่ท้ายที่สุด แม่ของอัลเบิร์ตก็ดึงเขาออกจากการทดลอง และไม่ได้มาทำการทดสอบในครั้งสุดท้าย ทำให้วัตสันและเรย์เนอร์ไม่สามารถทำการทดลองเพิ่มเติมแบบย้อนกลับ ของการตอบสนองต่อเงื่อนไขได้ และการทดลองในครั้งนี้ก็โดนวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากถูกมองว่าเป็นการทำร้ายสภาพจิตใจของเด็ก ก่อนที่ภายหลังจะมีการกำหนกแนวทางด้านจริยธรรมในการทดลองเชิงจิตวิทยาขึ้นนั่นเอง
ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
TRENDING
4 วิธีในการพัฒนา “ทักษะการสื่อสาร” ที่มีประสิทธิภาพ
17 hours ago
ลองโควิด คืออะไร? สาเหตุและวิธีรับมือ
2 days ago
การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม
5 days ago
เปลี่ยนถ่านรีโมทรถยนต์ ยี่ห้อต่างๆ ใช้ถ่านรุ่นไหน เบอร์อะไร?
6 days ago
วิธี จุดเตาถ่าน ให้ติดไฟอย่างรวดเร็ว
1 week ago
Next
Prev
Educational Management
4 วิธีในการพัฒนา “ทักษะการสื่อสาร” ที่มีประสิทธิภาพ
Education