หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Productive กันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นคำที่นิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยคำนี้ มักนำมาใช้กับกระบวนการทำงาน รวมไปถึงการดำเนินชีวิตให้ไปถึงเป้าหมาย หรือมีคุณภาพ มีแบบแผน และเป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งในบทความนี้กระผมได้นำเอาวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือสำหรับบางคนอาจจะเรียกว่ากิจวัตรมาฝากกัน 7 วิธี โดยวิธีการเหล่านี้จะช่วยปรับเปลี่ยนให้พวกเรามนุษย์ธรรมดา มีวันแห่งคุณภาพ หรือ Productive Day ในแต่ละวันกันง่ายมากขึ้น จะมีอะไรบ้างมาติดตามกันเลยครับ
วางโทรศัพท์ให้ห่างจากที่นอน
เป็นที่รู้กันว่าการวางโทรศัพท์ให้ห่างจากที่นอนนั้น เป็น 1 ในวิธีที่ Productive นอกจากจะทำให้เรามีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น ทั้งการลดคลืนสัญญาณที่อาจมารบกวนสมอง ไหนจะเสียง Notifications แจ้งเตือนแอปต่างๆ โดยเฉพาะไลน์กลุ่มที่พูดคุยกันของตลอดเวลาของเพื่อนๆ
อย่างไรก็ตาม ยังเป็นการฝึกนิสัยให้เราตื่นง่ายขึ้น เพื่อให้เราไม่ต้องกด Snooze เสียงปลุก (อย่างน้อยก็ทำให้เราต้องลุกจากเตียงไปกด) เมื่อเราได้ยินเสียงปลุกแล้ว พยายามลืมตา ปลุกตัวเองว่าวันใหม่ได้เริ่มต้นแล้ว และเดินไปกดหยุด จากนั้นลองนั่งลงที่เก้าอี้ใช้เวลาสัก 5 นาทีทำจิตให้โล่ง นึกถึงภารกิจที่ต้องทำในวันนี้ทั้งหมดเพื่อเริ่มต้นวันใหม่
ลดการเสพข่าวให้น้อยที่สุด
ชีวิตคนเราไม่จำเป็นต้องเสพข่าวทุกอย่างแบบเรียลไทม์ตลอดทั้งวัน เพราะการเช็คข่าวตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เราเสียเวลาขณะทำงานกับงานชิ้นนึงนานกว่าปกติแล้ว คุณภาพของงานที่เรากำลังทำก็อาจจะออกมาไม่ดีเช่นกัน
ลองลดเวลาอ่านหรือดูข่าวให้เหลือแค่ช่วงพักเที่ยง หรืออีกวิธีที่ดีไม่แพ้กัน คือ การเลือกเสพเฉพาะจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือก็พอ เพราะการลดการเสพข่าวลงให้น้อยทีสุด จะทำให้เรามีสมาธิอยู่กับงาน หรือกิจกรรมหลักของเรามากขึ้น สมองปลอดโปร่ง นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ได้ดียิ่งขึ้น
พักเบรคด้วยการไปเดินเล่น
หลายคนเมื่อเกิดอาการเหนื่อยล้าจากการใช้สมอง ปวดเมื่อยเพราะนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ก็มักจะพักเบรคด้วยการจิบกาแฟ เล่นมือถือ หรือเดินไปคุยกับเพื่อน
แต่อีกวิธีที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้ หากเมื่อต้องการพักเบรคจากงาน ให้ลองไปเดินเล่นเบาๆ แทน สูดอากาศ หายใจเข้าออกลึก ๆ เพียงแค่ 5 นาทีก็เพียงพอให้ร่างกายของเราสดชื่น พร้อมกลับมาลุยงานต่อ
เปิดแท็บบราวเซอร์แค่อันเดียว
การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เราเผลอเปิดหน้าจอขึ้นมาหลายแท็บโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะทำให้เราหลุดโฟกัสไปกับสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นหน้าฟีดโซเชี่ยลมีเดีย โฆษณาสินค้าออนไลน์ หรือแม้แต่ข่าวสารต่าง ๆ
ลองควบคุมตัวเองให้เปิดแท็บบราวเซอร์แค่อันเดียวเพื่อทำงาน กำหนดเวลาที่ใช้ให้ชัดเจนจากเวลาเท่าไหร่ถึงกี่โมง จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
สาระจากการพูดคุยกับผู้อื่น
ก่อนเริ่มสนทนากับผู้อืนในแต่ละครั้ง ให้ถามตัวเองสักนิดว่าเราคาดหวังอะไรจากบทสนทนานี้ “มันจะทำให้วันนี้ของเรามีคุณภาพขึ้นไหม” “คุ้มค่ากับสมาธิ และความนิ่งสงบที่เสียไปหรือเปล่า”
การรู้จุดมุ่งหมายในการสนทนาแต่ละครั้ง จะทำให้เราสามารถเรียงลำดับความสำคัญ เลือกการใช้ถ้อยคำ และยังเป็นการฝึกทักษะการสนทนาให้เป็นคนที่สื่อสารได้ตรงประเด็นอีกด้วย
เป้าหมายของวัน
หลาย ๆ คน มีการตั้งเป้าหมายในชีวิตที่ดูสวยหรู ยิ่งใหญ่ ทะเยอทะยาน หากแต่เมื่อเวลาผ่านไป กลับพบว่า เป้าหมายเหล่านี้กลับค่อย ๆ จางลง และล้มเหลวลงในที่สุด โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการที่คนเหล่านั้น ลืมตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่คอยหล่อเลี้ยงหัวใจระหว่างทาง ซึ่งจะคอยสะท้อนและบอกให้เรารู้ว่าเราเดินทางถึงไหนแล้ว ในเส้นทางไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของเรา
วิธีการก็คือ ระบุให้ได้ว่าอะไรคือภารกิจหลักของวัน เพื่อตัวเองตระหนักและภูมิใจกับพัฒนาการหรือความสำเร็จเล็กน้อยเหล่านั้น อาจจะดูซึ่งจะช่วยให้เราจดจ่อกับความพยายามและความคิดสร้างสรรค์ในช่วงเวลาปัจจุบัน
แบ่งกิจกรรม 6 อย่าง
จำแนกกิจกรรมต่างๆ ให้ออกระหว่าง “กิจกรรมสำคัญ” กับ “กิจกรรมไม่สำคัญ” ระบุออกมาทั้ง 2 อย่าง เอาแค่กิจกรรมหลักๆ อย่างละ 3 กิจกรรม
โฟกัสการทำงานให้ทั้ง 3 กิจกรรมสำคัญนี้ ให้เสร็จในช่วงเวลาที่สมองกำลังปลอดโปร่งและร่างกายพร้อมทำงาน (Primetime) ทั้งหมด ส่วนอีก 3 กิจกรรมที่ไม่สำคัญ หรือกิจกรรมอื่นๆ ไว้ทำในช่วงวลาที่เหลือของวัน
สรุปสั้นๆ คือ
การสร้างวันที่มีคุณภาพ (Productive Day) ต้องอาศัยระเบียบวินัยในตัวเองค่อนข้างสูง การจัดการเวลาโดยเรียงลำดับความสำคัญ การสร้างวินัยการนอน พฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมสมาธิ และการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าล้วนเป็นสิ่งสำคัญแยกให้ออกว่าแต่ละวันกิจกรรมไหนสำคัญ จงเลือกทำกิจกรรมเหล่านี้ให้เสร็จในช่วงที่สมองทำงานได้ดีที่สุด
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ คลิ๊ก
Source: https://jackkrier.medium.com/