Site icon ดูกีฬาออนไลน์

วPA คือ? การประเมิน พิจารณาเงินเดือนและขอวิทยฐานะรูปแบบใหม่

ข้าราชการครู

วPA — PA ย่อมาจาก Performance Agreement แปลตรงตัวได้ว่า ข้อตกลงด้านประสิทธิภาพ
ดังนั้น วPA จึงหมายถึง การประเมินผลการปฏิบัติงาน นั่นเอง โดยเป็นระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานรูปแบบใหม่ที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาเกี่ยวกับเงินเดือนและการขอวิทยฐานะ ทั้งการขอเลื่อนวิทยฐานะ การขอเลื่อนขั้นเงินเดือน และการคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)

จุดเด่นของ วPA

การประเมินด้วยรูปแบบ วPA จะช่วยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของข้าราชการครูในหลากหลายมิติมากขึ้น และมีความเป็นวิชาการมากขึ้น ทั้งศักยภาพด้านภาระงานที่ได้ปฏิบัติ จุดเด่นและจุดด้อยในการรับผิดชอบงานต่าง ๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งข้อมูลที่ได้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตัวเองของข้าราชการครูแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนสถานศึกษาให้มีคุณภาพอีกด้วย 

ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติงาน (วPA) จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญของสถานศึกษาที่ช่วยกระตุ้นการทำงานและปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาให้ก้าวหน้ามากขึ้น และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี

วPA มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง

  1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  2. คุณภาพการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

โดยประเด็นท้าทายที่กำหนดในระดับการปฏิบัติที่คาดหวังแบ่งได้ตามระดับวิทยฐานะ ดังนี้

  1. กรณีที่ยังไม่มีวิทยฐานะ
    1. ครูผู้ช่วย ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ปฏิบัติและเรียนรู้ (Execute & Learn) สามารถปฏิบัติงานและเรียนรู้จากการปฏิบัติได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง
    2. ครู ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ปรับประยุกต์ (Apply & Adapt) สามารถปรับประยุกต์การจัดการเรียนรู้และปฏิบัติงาน จนปรากฏผลลัพธ์กับผู้เรียนได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง
  2. กรณีที่มีวิทยฐานะ
    1. ครูชำนาญการ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ แก้ไขปัญหา (Solve the Problem) สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
    2. ครูชำนาญการพิเศษ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ริเริ่ม พัฒนา (Originate & Improve) สามารถริเริ่มพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
    3. ครูเชี่ยวชาญ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ คิดค้น ปรับเปลี่ยน (Invent & Transform) สามารถคิดค้น พัฒนานวัตกรรมและปรับเปลี่ยน ให้คุณภาพ การเรียนรู้สูงขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดี และให้คำปรึกษาผู้อื่น
    4. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ สร้างการเปลี่ยนแปลง (Create & Impact) สามารถคิดค้น พัฒนา นวัตกรรม เผยแพร่ และขยายผล จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำปรึกษาผู้อื่น และเป็นผู้นำ

  TRENDING
Stative Verb คือ? กริยาที่ไม่แสดงออก
10 hours ago
วPA คือ? การประเมิน พิจารณาเงินเดือนและขอวิทยฐานะรูปแบบใหม่
4 hours ago
Future Perfect Continuous คือ? หลักการใช้
1 day ago
ใบงานวิทยาศาสตร์ ประถม-มัธยม โหลดฟรี
2 days ago
Future Perfect Tense คือ? หลักการใช้ ตัวอย่าง
2 days ago
Next
Prev

วิธีการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ (สำหรับตำแหน่งครูขึ้นไป)

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ข้าราชการครูในสังกัด สพฐ. จะต้องยื่นข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งผู้อำนวยการจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสำหรับประเมิน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการในการประเมิน
  2. กรรมการจำนวน 2 คน โดยอาจแต่งตั้งศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า คศ.3  อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ ครูจากโรงเรียนอื่นที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเหมาะสมก็ได้

ซึ่งการพิจารณานั้น จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ด้าน คือ

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยจะพิจารณาจาก แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน  บันทึกวิดีโอการสอน และ บันทึกวิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอน โดยส่งเป็น บันทึกดิจิทัล ภาพถ่าย หรือ เอกสาร

เกณฑ์การประเมิน

สำหรับเกณฑ์การตัดสินทั้ง 2 ด้าน

  1. ครูชำนาญการ (คศ. 2) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ในแต่ละด้าน
  2. ครูชำนาญการพิเศษ (คศ. 3) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70 ในแต่ละด้าน
  3. ครูเชี่ยวชาญ (คศ. 4) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 ในแต่ละด้าน
  4. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (คศ. 5) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 ในแต่ละด้าน

การดำเนินการ

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ สามารถยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปีการศึกษา โดยแบ่งเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ซึ่งมีผู้อำนวยการเป็นผู้ดูแลพร้อมหลักฐาน คือ 

  1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน แล้วแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF 
  2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์
  3. บันทึกวิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
  4. บันทึกวิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้

อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นข้าราชการครูทุกท่าน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เอกสารคู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งน่าจะช่วยให้ข้าราชการครูมีความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

[wpdm_package id=’2898′][wpdm_package id=’2907′][wpdm_package id=’2909′][wpdm_package id=’2911′][wpdm_package id=’2913′][wpdm_package id=’2915′][wpdm_package id=’2905′]

รูปภาพโดย: เอกชัย เชียงคำ

Exit mobile version