Site icon ดูกีฬาออนไลน์

Best practice: รูปแบบการสอนแบบ SOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonics สำหรับนักเรียนประถม

Best practice phonics

แบบรายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

ชื่อผลงาน (Best Practice): การสร้างรูปแบบการสอนแบบ SOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonics ของโรงเรียนบ้านเขาตั้ง

ดาวน์โหลดใบความรู้ English Alphabets ตามภาพ ได้ที่นี่

1. ความสำคัญของผลงาน Best practice

ความเป็นมาของสภาพปัญหา

ในยุคปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่มีความสำคัญ ซึ่งถูกเน้นย้ำโดยนโยบายรัฐบาล ในด้านการเตรียมพร้อมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ในประเด็นที่ 1 ว่าด้วยการที่เด็กไทยต้องเก่งวิชาภาษาต่างประเทศ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา อีกทั้งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศสามารถนำภาษาต่างประเทศมาแสวงหาความรู้ นำมาใช้ประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2561, หน้า 221) นอกจากนี้เมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การมีความรู้และความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเชื่อมโยงกับโลกภายนอกได้อย่างราบรื่น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยจะต้องศึกษาและเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่ประสพกับความยากลำบากในการออกเสียงภาษาอังกฤษ เนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างโครงสร้างทางและการออกเสียงของภาษาอังกฤษและภาษาไทย ซึ่งการเรียนรู้การออกเสียงที่ถูกต้องและใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาเป็นสิ่งสำคัญ (Jones & Deterding, 2007) ดังนั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการออกเสียงของผู้เรียน การสร้างพื้นฐานและการฝึกสอนลักษณะการออกเสียงที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งวิธีการสอนที่ได้รับความนิยมในการพัฒนาทักษะการออกเสียงคือการใช้วิธีการอ่านออกเสียงและสะกดคำ (Phonics) โดยวิธีการนี้เป็นหลักการในการถอดรหัสเสียงและการผสมเสียงระหว่างตัวอักษร ผู้เรียนจะต้องเข้าใจเสียงของตัวอักษรแต่ละตัวและสามารถออกเสียงได้ถูกต้องเพื่อที่จะสามารถผสมเสียงเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นคำได้อย่างถูกต้อง (อักษรเจริญทัศน์,2563)

ด้วยเหตุนี้การพัฒนาทักษะการออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจนจึงเป็นประเด็นสำคัญที่อยู่ในภารกิจของครูผู้สอนและสถานศึกษาทุกแห่ง การใช้เทคนิค Phonics ในการสอนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและออกเสียงได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถผสมเสียงตัวอักษรเข้าด้วยกันเป็นคำได้อย่างมีความเข้าใจ อีกทั้งจากการสำรวจในการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านเขาตั้ง ปัญหาสำคัญที่พบคือนักเรียนไม่สามารถอ่านและสะกดคำภาษาอังกฤษได้ และสังเกตได้ว่าเมื่อนักเรียนอ่านคำใด ๆ มักอ่านคำภาษาไทยแทนภาษาอังกฤษ โดยการเขียนภาษาไทยไว้ใต้คำ เรื่องนี้ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถอ่านคำภาษาอังกฤษด้วยตนเองได้จริง ผู้จัดทำได้พยายามหาวิธีการช่วยเหลือแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะการอ่านและสะกดคำภาษาอังกฤษให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้ารูปแบบการสอนการโดยใช้วิธีการอ่านออกเสียงและสะกดคำ (Phonics) และได้คิดค้นรูปแบบและขั้นตอนที่ประกอบไปด้วยการเรียนรู้เสียง (Sound) การฝึกออกเสียง (Oral) การสอนอ่าน (Literacy) การเพิ่มพูนคำศัพท์ และการประเมินผล (Evaluation) ซึ่งเมื่อนำพยัญชนะต้นของแต่ละขั้นตอนมาเรียงรวมกันแล้ว จะได้เป็นคำว่า SOLVE ซึ่ง Solve มีความหมายในภาษาไทยว่าการแก้ปัญหา ตรงตามเจตนารมย์ของผู้จัดทำที่ต้องการแก้ปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนนั่นเอง โดยรูปแบบการสอนนี้เป็นพื้นฐานสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนได้เร่งพัฒนา และเป็นแนวทางในการสอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา ให้นักเรียนสามารถเข้าใจโดยแท้จริง รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างถูกต้อง


แนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนา

จากปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่ผ่านมา ทำให้ผู้สอนมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างรูปแบบการสอนแบบ SOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonics ซึ่งมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1  เรียนรู้เสียง (S: Sound) คือ การเน้นการสอนเสียงที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษรและการออกเสียงของคำภาษาอังกฤษ เช่น การออกเสียงพยัญชนะและสระ 

ขั้นที่ 2  ฝึกออกเสียง (O: Oralคือ การให้นักเรียนฝึกการออกเสียงและการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ปากและเสียงพูดเป็นสื่อกลาง

ขั้นที่ 3  สอนอ่าน (L: Literacy) คือ การเน้นการสอนอ่านและเขียนคำภาษาอังกฤษ ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้พยัญชนะและสระ และการสร้างคำในรูปแบบต่างๆ

ขั้นที่  เพิ่มพูนคำศัพท์ (V: Vocabulary) คือ การให้นักเรียนฝึกซ้ำๆ โดยเน้นการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการสะกดและความหมายของคำ รวมถึงการนำคำศัพท์มาใช้ในประโยค       

ขั้นที่ 5  ประเมินผล (E: Evaluation)  คือ การประเมินความคืบหน้าเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องของการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการทดสอบและการประเมินผล


2. วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ทั่วไป

วัตถุประสงค์เฉพาะ

เป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ 

เป้าหมายเชิงคุณภาพ


3. กระบวนการผลิตผลงาน Best practice

การออกแบบผลงานหรือนวัตกรรม

หลักสำคัญในการนำทฤษฎีนี้มาใช้กับการพัฒนามีทักษะการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษโดยการฝึกประสม คำด้วยเสียงของพยัญชนะ (Phonics) มีดังนี้ 

นักทฤษฎีการศึกษากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งต้องกำหนดประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกไว้ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยประสบการณ์ดังกล่าวหากมีการกระทำซ้ำ ๆ จะกลายเป็นกิจวัตรที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม (Thorndike, 1966)

องค์ประกอบของการเรียนรู้ตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่

แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียนในบางสิ่งบางอย่างที่จูงใจ (Motivated) ให้ผู้เรียนหาหนทางตอบสนองตามความต้องการนั้น

สิ่งเร้า (Stimulus) หมายถึง สิ่งที่เข้ามากระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิกิริยาการตอบสนองเกิดเป็นพฤติกรรมขึ้น ซึ่งได้แก่ การให้สาระความรู้ (Message) ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งชี้แนะ (Cue)

การตอบสนอง (Response) หมายถึง การที่ผู้เรียนแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งอธิบาย ด้วยพฤติกรรมที่ปรากฏ

การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของผู้เรียนประกอบด้วยการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบ โดยนิยมใช้รูปแบบการ เสริมแรงจากภายนอก เช่น การให้รางวัล หรือการลงโทษ


รูปแบบและขั้นตอนการสอนแบบ SOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonics

ขั้นที่ 1  เรียนรู้เสียง (S: Sound)

เน้นการสอนเสียงที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษรและการออกเสียงของคำภาษาอังกฤษ เช่น การออกเสียงพยัญชนะและสระ โดยครูอธิบายเสียงและการออกเสียงของพยัญชนะและสระต่างๆ สอนวิธีออกเสียงและสะกดพยัญชนะและสระต่างๆ ให้ตัวอย่างเสียงและสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกัน

ขั้นที่ 2  ฝึกออกเสียง (O: Oral)

ให้นักเรียนฝึกการออกเสียงและการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ปากและเสียงพูดเป็นสื่อกลาง โดยที่ครูจะให้นักเรียนฝึกการออกเสียงของพยัญชนะและสระต่างๆ สร้างประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้พยัญชนะและสระที่เรียนมา

ขั้นที่ 3  สอนอ่าน (L: Literacy)

เน้นการสอนอ่านและเขียนคำภาษาอังกฤษ ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้พยัญชนะและสระ และการสร้างคำในรูปแบบต่างๆ โดยที่ครูจะอธิบายหลักการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สอนการสะกดและเขียนพยัญชนะและสระต่างๆ รวมถึงให้นักเรียนฝึกเขียนคำภาษาอังกฤษที่เรียน

ขั้นที่ 4  เพิ่มพูนคำศัพท์ (V: Vocabulary)      

ให้นักเรียนฝึกซ้ำๆ โดยเน้นการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการสะกดและความหมายของคำ รวมถึงการนำคำศัพท์มาใช้ในประโยค โดยที่ครูจะนำเสนอคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพยัญชนะและสระที่เรียน ให้นักเรียนฝึกซ้ำๆ เพื่อสร้างความคุ้นชินโดยใช้คำศัพท์ในประโยคที่เกี่ยวข้อง  

ขั้นที่ 5  ประเมินผล (E: Evaluation)

ประเมินความคืบหน้าเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องของการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการทดสอบและการประเมินผลโดยที่ครูจะให้นักเรียนทำแบบทดสอบเล็กน้อยเพื่อประเมินความเข้าใจ และสรุปผลการเรียนรู้ของคาบนั้นๆ 


ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน

ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ SOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonics ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเขาตั้ง

หลังจากผู้จัดทำได้ดำเนินการทดสอบก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ SOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonics ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเขาตั้ง และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากคะแนนก่อนเรียน (Pre-test) และคะแนนหลังเรียน(Post-test) โดยการทดสอบค่า (T-test dependent samples) ดังปรากฏผลดังนี้

จากตาราง 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน คะแนนสูงสุด คือ 14 คะแนน คะแนนน้อยที่สุด คือ 7 คะแนน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.93 คะแนน ผลสัมฤทธิ์หลังเรียน คะแนนสูงสุด คือ 20 คะแนน คะแนนน้อยที่สุด คือ 14 คะแนน คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 16.21 คะแนน จากคะแนนผลสัมฤทธิ์จะเห็นได้ว่าผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน

จากตาราง 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ SOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonics ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านเขาตั้ง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.64 และ 16.21 ตามลำดับ และจากตาราง t critical ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 (two-tailed test) และ ค่าชันแห่งความอิสระ 13 (degrees of freedom) ค่า t critical ที่ใช้คือ 2.977 เมื่อเปรียบเทียบค่า t-score ที่ได้ (4.63) กับค่า t critical (2.977) พบว่าค่า t-score มากกว่าค่า t critical ที่เลือก ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01

ดังนั้น จากการใช้รูปแบบการสอนแบบ SOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonicsในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สามารถทำให้นักเรียนรู้และเข้าใจวิธีการเรียนอ่านเขียนและออกเสียงภาษาอังกฤษ ผ่านหลักการถอดรหัสเสียงและการผสมเสียงตัวอักษร a ถึง z ทั้ง 26 ตัว รวมถึงเสียงของตัวอักษรต่างๆ การออกเสียงและผสมเสียงออกมาเป็นคำได้อย่างถูกวิธี ซึ่งส่งผลให้นักเรียนนำวิธีการเรียนรู้แบบ Phonics ไปใช้ในการแข่งทักษะวิชาการระดับเครือข่ายสถานศึกษา ได้รับรางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ 2 รายการแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ(Impromptu Speech) ระดับชั้นป.4 – ป.6 


การใช้ทรัพยากร


4. ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ผลการดำเนินงาน

จากการทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง เสียงพยัญชนะและสระ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบSOLVE ในการอ่านภาษาอังกฤษแบบ Phonics พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.93 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.21 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.28  และมีคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน เท่ากับ 2.87 คะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียน 1.98 ลดลงร้อยละ 0.89 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเป็นไปตามเป้าหมายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

ผลสัมฤทธิ์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ Best practice ชิ้นนี้

ประโยชน์ต่อนักเรียน

ประโยชน์ต่อครูผู้สอน

ประโยชน์ต่อโรงเรียน

ประโยชน์ต่อชุมชน ผู้ปกครอง


5. ปัจจัยความสำเร็จของ Best practice ชิ้นนี้ 


6. การเผยแพร่ Best practice 

จากผลการพัฒนาตนเองทำให้ข้าพเจ้าเกิดองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ สามารถออกแบบการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีระบบและขั้นตอนตามหลักวิชาการ กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์หลักสูตร ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการเรียนรู้ การใช้สื่อ/นวัตกรรม ตลอดจนการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพตามสภาพจริงและจัดทำวิจัยชั้นเรียนซึ่งได้เผยแพร่ ดังนี้

รางวัลที่ได้รับ


Exit mobile version