พรบ.การศึกษาแห่งชาติ หรือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562)
มีทั้งหมด 9 หมวด 78 มาตรา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ 4 มีผลบังคับใช้วันที่ 2 พฤษภาคม 2562
คำนิยามต่างๆ ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
การศึกษา
หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอด การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต
หมายถึง การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ นอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ผู้สอน
หมายถึง ครูและอาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู
หมายถึง บุคลากรวิชาชีพ ทำหน้าที่หลักทาง ด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์
หมายถึง บุคลากรซึ่ง ทำหน้าที่หลักทาง ด้านการสอนและการวิจัย ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา
หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้สนับสนุนการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอน การนิเทศ และบริหารการศึกษาในหน่วยงานต่างๆ
หมวด 1: ความมุ่งหมายและหลักการ ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 6
“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา 8
การศึกษาให้ยึดหลัก ตลอด-ร่วม-ต่อ
- เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
- สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 9
การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
- มีเอกภาพนโยบายหลากหลายในการปฏิบัติ
- มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
- มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
- ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
- การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
หมวด 2: สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 10
บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน “ไม่น้อยกว่า 12 ปี” ที่รัฐต้องจัดให้ “อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ” “โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”
ผู้ที่บกพร่อง ต้องจัดให้มีสิทธิและโอกาสในการรับการศึกษาพื้นฐาน “เป็นพิเศษ”
บุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ให้จัดด้วย “รูปแบบที่เหมาะสม” โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
ผู้พิการ ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
มาตรา 11
บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล ได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา 17 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด 3: ระบบการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 15
การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ
- ในระบบ (Formal Education) กำหนดจุดหมาย วิธีการ หลักสูตร เวลา การวัดผลประเมินผลที่ “แน่นอน”
- นอกระบบ (Non-formal Education) มีความ “ยืดหยุ่น” โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
- ตามอัธยาศัย (Informal Education) ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง “ตามความสนใจ” ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งความรู้อื่น
สถานศึกษา อาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
มาตรา 16
การศึกษาในระบบและนอกระบบ มี 2 ระดับ
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน: จัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา
- การศึกษาระดับอุดมศึกษา: แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
มาตรา 17
ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี
ให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
ย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงย่างเข้าปีที่ 16
มาตรา 18
การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษาดังต่อไปนี้
- สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
- โรงเรียน
- ศูนย์การเรียน
หมวด 4: แนวการจัดการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 22
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
หมวด 5: การบริหารและการจัดการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
ให้กระทรวงศึกษาธิการมีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือคณะกรรมการ 3 องค์กร
- สภาการศึกษา
- คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สำนักงานของสภา/คณะกรรมการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นกรม
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562)
การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิ์จัดการศึกษาในระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น โดยให้กระทรวงเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อม
การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
ให้สถานศึกษาเอกชนตามมาตร 18(2) เป็นนิติบุคคล
ให้สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภท
หมวด 6: มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 47
ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยการประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
มาตรา 48
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จัดทำรายงานประจำปีเสนอหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน
มาตรา 49
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
มาตรา 51
หากผลการประเมินไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด ให้ สมศ. หน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไข หากมิได้ดำเนินการ ให้สมศ. รายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
หมวด 7: ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
คณาจารย์
หมายถึง บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาีะดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาของรัฐและเอกชน แต่ไม่รวมถึงบุคลากรซึ่งสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา
องค์กรวิชาชีพครู
ให้มีองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของสถานศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่ เป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู
ยึดหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลการศึกษาและสถานศึกษา
หมวด 8: ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 59
ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุและทรัพย์สินอื่น
บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐที่เป็นิติบุคคลได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือซื้อ แลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษา ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา
บรรดารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาของรัฐ ให้สถานศึกษาสามารถจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวด 9: เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามที่จำเป็น
รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ วัสดุอุปกรณ์อื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตโดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้
ติดตามเนื้อหาอื่นๆ ได้ที่ Jahnnoom.com