กริยา 3 ช่อง และ Regular-Irregular Verb
กริยา 3 ช่อง สำหรับใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับ กริยา 3 ช่อง และยังสงสัยว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับ Regular-Irregular verb อย่างไร ทำไมจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก ก่อนการเรียนเรื่อง Tense วันนี้มีคำตอบมาฝากกันครับ แจกฟรี ไฟล์ .doc และ .pdf
กริยา 3 ช่อง คือ?
กริยา 3 ช่อง คือ คำกริยาที่เป็นส่วนประกอบในโครงสร้างแต่ละ Tense ในภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งได้ 3 ช่องนั่นเอง ซึ่งจะแบ่งตาม 3 ช่วงเวลา (อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต) เพื่อบอกช่วงเวลาของเหตุการณ์ ได้แก่
- กริยาช่อง 1 (Base Form) ใช้บอกเล่าเหตุการณ์ทั่วไปหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน
- กริยาช่อง 2 (Simple Past Tense) ใช้บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต
- กริยาช่อง 3 (Past Participle) ใช้บอกเหตุการณ์ที่ผ่านมาซึ่งจบลงและเสร็จสิ้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนรูปของกริยาทั้ง 3 ช่อง ก็มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน นั่นก็คือกริยาที่มีการเปลี่ยนรูปแบบปกติ (Regular verb) และกริยาที่มีการเปลี่ยนรูปแบบไม่ปกติ (Irregular verb) นั่นเอง
1. Regular verb
คำกริยามีการเปลี่ยนรูปแบบปกติ (Regular verb) เป็นคำกริยาที่เปลี่ยนรูปจากกริยาช่องที่ 1 ไปเป็นกริยาช่องที่ 2 และสามารถเติม -ed ลงไปได้เลย มีหลักการเติมดังนี้
1. คำกริยาที่เป็นปกติทั่วไป ให้เราเติม -ed ลงไปได้เลย ตัวอย่างเช่น
2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -e อยู่แล้ว ให้เติม -d ลงไปได้เลย ตัวอย่างเช่น
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -y และหน้า -y เป็นพยัญชนะ ให้เราเปลี่ยน -y เป็น -i แล้วเติม -ed ตัวอย่างเช่น
4. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -y และหน้า -y เป็นสระ ให้เติม -ed ลงไปด้านหลัง -y ได้เลย ตัวอย่างเช่น
5. คำกริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระตัวเดียวและลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียว ให้เราซ้ำพยัญชนะตัวสุดท้ายอีกครั้ง แล้วจึงเติม -ed (ยกเว้น x) ตัวอย่างเช่น
6. คำกริยาที่มีสองพยางค์ขึ้นไป มีสระตัวเดียวและลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียว มีการเน้นเสียงมากกว่าที่พยางค์หลัง ให้ซ้ำพยัญชนะตัวสุดท้ายอีกครั้งแล้วจึงเติม -ed (ยกเว้นคำกริยาที่ลงเสียงหนักที่พยางค์แรก ให้เติม -ed ได้เลยโดยไม่ต้องซ้ำพยัญชนะตัวสุดท้าย) ตัวอย่างเช่น
วิธีอ่านออกเสียง Regular verb
นอกจากนี้ การออกเสียงคำกริยาที่เติมด้วย -ed (Regular Verbs) ซึ่งน้อง ๆ ส่วนใหญ่มักจะอ่านออกเสียงผิดนั้น มีวิธีการอ่านที่ถูกต้องดังนี้
1. หากคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงไม่ก้อง (Voiceless) ซึ่งประกอบไปด้วย f, k, p และ s จะออกเสียง ed เป็น /t/ “เทอะ” ตัวอย่างเช่น cooked, finished, kissed, looked, talked เป็นต้น
2. หากคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงก้อง(Voice) ซึ่งประกอบไปด้วย b, g, v, m, n, r, l (เมื่อลองเอามือสัมผัสที่ต้นคอดูเสียงจะสั่น) จะออกเสียง ed เป็น /d/ “เดอะ” ตัวอย่างเช่น opened, loved, controlled, hugged เป็นต้น
3. หากคำกริยานั้นลงท้ายด้วย t หรือ d ออกเสียง ed เป็น /id/ “อิด/ทิด” เช่น wanted, needed, waited เป็นต้น
2. Irregular verb
คำกริยามีการเปลี่ยนรูปแบบไม่ปกติ (Irregular verb) คือคำกริยาที่มีการเปลี่ยนรูปเป็นคำใหม่แตกต่างไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง มีลักษณะการเปลี่ยนรูปแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
1. คำกริยาที่มีการเปลี่ยนรูป ที่มีคำกริยาช่องที่ 2 และคำกริยาช่องที่ 3 เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
2. คำกริยาที่มีการเปลี่ยนรูปแตกต่างกันทั้ง 3 ช่อง ตัวอย่างเช่น
3. คำกริยาที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปเลย ตัวอย่างเช่น
TRENDING
Past Continuous คือ? โครงสร้าง Tense และวิธีใช้
2 days ago
Past Simple Tense คืออะไร? ใช้ยังไง? ทำไมถึงสำคัญ?
1 day ago
Present Perfect Continuous คือ? Tenses ภาษาอังกฤษพื้นฐาน
6 hours ago
กริยา 3 ช่อง Regular-Irregular Verb
16 hours ago
อาชีพภาษาอังกฤษ ต่าง ๆ 100 คำ
2 days ago
Next
Prev
English
Past Continuous คือ? โครงสร้าง Tense และวิธีใช้
English
Past Simple Tense คืออะไร? ใช้ยังไง? ทำไมถึงสำคัญ?
ดาวน์โหลดไฟล์คำศัพท์ กริยา 3 ช่อง (Irregular verb)
[wpdm_package id=’2062′][wpdm_package id=’2036′]
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับคำศัพท์คำกริยา 3 ช่อง ที่กระผมมองว่ามีประโยชน์มากๆ และได้นำมาฝากกันในวันนี้ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ กระผมหวังว่าคอนเทนท์นี้คงจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ